วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

เนลสัน มันเดลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนลสัน มันเดลา
เนลสัน มันเดลา

เนลสัน มันเดลา ที่ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2541


ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คนที่ 1
ดำรง ตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 253714 มิถุนายน พ.ศ. 2542
รองประธานาธิบดี เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก
ธาโบ มเบคี
สมัยก่อนหน้า เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก
สมัยถัดไป ธาโบ มเบคี

เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด คนที่ 19
ดำรง ตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 254114 มิถุนายน พ.ศ. 2542
สมัยก่อนหน้า อังเดร พาสทรานา อรังโก
สมัยถัดไป ธาโบ มเบคี

เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 (อายุ 91 ปี)
Flag of แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
สังกัดพรรค พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา

เนลสัน โรลิห์ลาห์ลา มันเดลา (อังกฤษ: Nelson Rolihlahla Mandela; สำเนียงภาษาคโฮซา: [xoˈliɬaɬa manˈdeːla]) เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ที่เมืองทรานส์คีย์ ประเทศแอฟริกาใต้[1] ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ใน ช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งนี้นี้ เขาได้เป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวตัว ยงเพื่อต่อต้านนโยบาย แยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ เช่น การก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่น มากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประนามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย

เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะร็อบเบิน การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคน ต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2533 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ แห่งประชาธิปไตย ในขณะนี้ เนลสัน มันเดลา มีอายุกว่า 90 ปีแล้ว เป็นที่ยกย่องอย่างสูงภายในประเทศแอฟริกาใต้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ชาวแอฟริกันจะขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลมันเดลาอย่างให้เกียรติว่า มา ดิบา แต่มักเจาะจงหมายถึงเนลสัน มันเดลาเท่านั้น

เนลสัน มันเดลา ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากกว่า 250 รางวัลตลอด ช่วงเวลา 4 ทศวรรษ รางวัลที่สำคัญที่สุดคือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2536

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น